วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีเลือกซื้อรถ Big Bike


เทศกาลท่องเที่ยวปีนี้วนมาอีกครั้ง เลยเอาบทความนี้มาฉายซ้ำ มาขึ้นหัวอีกรอบ เพราะช่วงนี้ของปีเป็นเทศกาลท่องเที่ยว Bigbike จะซื้อ จะขายกันมาก เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆหลายๆคนที่เพิ่งเข้ามาดูเว็ปนี้


บทแรกนี้มาว่ากันถึงจุดประสงค์การใช้งาน ของรถที่เราต้องการก่อน

1. ต้องถามตัวเองก่อนว่า ชอบรถแนวไหน ?







- สปอร์ตไบค์ หรือที่เรียกกันว่า เรฟริก้า คือรถประเภท เลียนแบบรถในสนามแข่ง ท่วงท่าการนั้งจะเป็นแบบ ก้ม หมอบ ลักษณะรถ จะมีแฟริ่ง คลุมรถทั้งหมด แฮนด์แบบจับโช๊ค เบาะคนขี่และคนซ้อนจะแยกกันเป็น2ส่วน เช่น R1, SP1
- สปอร์ตทัวร์ริ่ง ลักษณะจะเหมือนประเภทแรกแต่ท่านั้งจะไม่ก้มมากนัก มีแฟริ่ง ชิวส์สูงสามารแหวกลมปะทะได้ดี เช่น Hayabusa , cbr1100xx
- คาสตอมไบค์ หรือ เน้กเก๊ตไบค์ คือรถประเภท ที่ไม่มีแฟริ่งมาก ไฟหน้ามักจะเป็นไฟกลม แฮนด์บาร์ ท่านั้งจะไม่ก้มมาก เช่น SF400 , XJR
- ช๊อปเปอร์,ครุยเซอร์ คือรถประเภทที่ไม่เน้นความเร็วมากนัก แต่ไปในเน้นแรงบิดในรอบต่ำ รอบกลาง หน้าตาก็จะไปทางเรียบง่าย เช่น Harlay , Steed400-600
- วิบาก หรือ Off Road คือรถประเภทที่ไว้ขี่ในทางสมบุกสมบัน

2. งบประมาณ เท่าไหร่ ?
อันนี้ต้องแล้วแต่ทรัพย์ในกระเป๋า แต่ว่าหลังจากได้ประเภทรถที่ชอบแล้ว ก็ต้องหาข้อมูล ว่าราคาอยู่ในช่วงต่ำสุด- สูงสุดเท่าไหร่ จะได้เตรียมเงินให้พร้อม แต่คงต้องหมายความรวมถึง ค่าอุปกรณ์มรการขับขี่ด้วยส่วนนึง นอกเหนือจากราคารถ การที่รถรุ่นเดียวกันราคาไม่เท่ากัน เพราะ สภาพรถ อุปกรณ์ตกแต่ง อุปกรณ์ควบ หรือช่วงภาวะการตลาด

3. สถานที่จะไปออกรถ ?
- รถบ้าน ในที่นี้หมายถึงรถที่เจ้าของประกาศขายเอง ไม่ได้ผ่านนายหน้าหรือร้านค้า
- รถที่ร้าน ความหมายบอกในตัวแล้วว่า ต้องไปซื้อที่ร้าน ร้านค้าซื้อจากประเภทแรกหรือรถจากโกดัง แล้วเอามาปรับปรุงสภาพให้ดีขึ้น แล้วเอามาตั้งราคาใหม่

รถบ้าน (อธิบายเพิ่มจากข้อ3.)
ข้อดี 1. ราคาโดยส่วนมากถูกกว่ารถหน้าร้าน
2. ต่อรองราคาได้มาก แล้วสามารถคุยกับเจ้าของได้โดยตรง ทราบประวัติรถ
3. สามารถเห็นสภาพเดิมได้
ข้อเสีย
1. ราคาถูกก็จริงอยู่แต่อาจต้องทำเพิ่มเติมเยอะมากกว่าที่คุยกันไว้ก็ได้ , ไม่มีรับประกัน
2. การต่อรองราคา ถ้าได้รับความจริงใจจากผู้ขายก็จะโชคดี แต่ถ้าผู้ขายไม่บอกความจริง แล้วเราซื้อมา หากต้องซ่อมแซมมากๆจะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้เลย ( ในกรณีที่ซื้อมาโดยไม่ถี่ถ้วนพอ )

รถหน้าร้าน
ข้อดี 1. รถเก็บงานมาแล้ว ปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ อุปกรณ์ ทำสีใหม่แล้ว
2. รับประกัน ตามแต่จะตกลง
ข้อ เสีย ..ไม่เห็นสภาพเดิมๆเพราะเก็บงานมาแล้ว ถ้าเป็นร้านที่รับผิดชอบก็โชคดีไป แต่ถ้าเป็นการย้อมแมว ผู้ซื้อจะสังเกตุได้ยาก ส่วนใหญ่จะไม่เห็นจุดบกพร่อง

4. เทคนิคและวิธีการเลือกซื้อ










ข้อสังเกตุเบื้องต้น....( รายละเอียดที่แจ้ง บางกรณีแม้ว่าจะเป็นจุดที่บกพร่องแต่สามารถซ่อมแซมแก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแต่เป็นจุดสังเกตุ บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของรถ )
1.เล่มทะเบียน ตรงกันกับรถ ดูเลขเครื่อง - เลขคอที่ระบุในเล่มให้ตรงกับรถ ส่วนเลขเครื่องและเลขคอไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้ครับ เพราะประกอบจากอะไหล่เก่า จึงอาจไม่เหมือนกันได้ ข้อปลีกย่อยอื่นในภาวะปัจจุบันคือ ทะเบียนสวม หรือ ทะเบียนแท้ อันนี้ต้องขอรายละเอียดจากเจ้าของเดิมด้วย
2.ชุดโอน ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ครบ หรือในกรณีที่เป็นอินวอย ก็ต้องมีใบเสร็จตัวจริง เครื่อง - เฟรม และเอกสารควบอื่นๆครบ
3.เขียนสัญญาซื้อ-ขายด้วย จะดีมาก
4. เดินดูรอบๆรถ โดยรวม...
- ชุดสี แฟริ่งด้านนอกอาจมองไม่เห็น แต่ด้านในอาจมีรอยเชื่อมพลาสติกบ้างเล็กน้อย ไม่เป็นปัญหา แต่ให้สังเกตุ ช่วงตัวยึดน๊อต ขายึดในจุดต่างๆ โดยเฉพาะด้านหน้า ว่ามีรอยเชื่อมมากรึเปล่าว หลายจุดมั๊ย อันนี้บอกได้ถึงการเกิดอุบัติเหตุ ว่าชนมาแล้วมากน้อยแค่ไหน , เหล็กยึดโครงหน้ากากด้านหน้าก็เช่นเดียวกัน
- เฟรม สีอลูมิเนียมเดิมๆ ไม่ทำสีจะดีที่สุด โดยมากถ้าไม่เคยเกิดอุบัติเหตุรุนแรง การทำสีเฟรมมักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการปกปิดร่องรอย ส่วนใหญ่แม้ว่าจะเคยมีอุบัติเหตุมาบ้าง หากมีรองรอยที่เฟรมบ้างไม่เยอะนัก จะไม่ใคร่มีใครทำสีกัน
- เครื่องไม่มีคราบเยิ้มน้ำมันตามรอยปะเก็น
- สายไฟแม้ว่าจะเป็นส่วนที่มองเห็นไม่ได้ชัดเจนนัก แต่ในส่วนที่มองเห็น น่าจะอยุ่ในสภาพที่เก็บงานมาแล้ว จัดระเบียบมาได้เรียบร้อย
- ปลายท่อแห้ง เขม่าสีเทาๆ ถ้าสีออกดำก็แสดงว่ากรองอาจตันหรือหมดสภาพแล้ว ( อันนี้เล็กน้อย รับได้ )
- ลองสตาร์ท เปิดไฟหน้า ไฟเลี้ยว ไปเบรค ไฟหน้าปัดเรือนไมล์ยังใช้งานได้ครบ อยู่รึเปล่าว
- ลองคร่อม โยกรถ(กำเบรคหน้า) ลองเด้งหลังโดยใช้น้ำหนักตัว ว่าโอเคมั๊ย โช๊คหน้า แกนต้องไม่เป็นรอยลึกๆ(รอยครูคยาวๆ) รอยหลุมตามดเล็กๆ ไม่มีคราบน้ำมัน
- โช๊คหลังต้องไม่เด้งขึ้นแรงๆทันที ต้องมีความหนืดของโช๊คด้วย ทำนองว่ากดลงแล้ว ค่อยๆเด้งขึ้น
- ลองเดินเบาซักพัก แล้วเบิ้ลรอบเครื่องยนต์แรงขึ้นอีกนิด ดูความราบเรียบของรอบเครื่องยนต์
- เครื่องเดินเบาราบเรียบ ไม่กระตุก หรือไม่นิ่ง โดยปรกติถ้าสตาร์ทใหม่ๆรอบเครื่องอาจจะแกว่งๆ ไม่นิ่ง แต่ถ้าปล่อยให้เครื่องยนต์ทำงานต่อไปอีกซักพัก รอบเดินเบาจะคงที่ขึ้น,
- ต้องไม่มีเสียงประหลาดๆ ก๊อกๆ แก๊กๆ หรือเสียงวีดตามรอบเครื่องยนต์ ยกเว้นในกรณีรถSuzuki ที่เอกลักษณ์เสียงเครื่องยนต์อาจดังมากกว่ายี่ห้ออื่น หรือ คาร์บูร์แฟลตสไลด์
- ถ้าบังเอิญสตาร์ทแล้วมีควันขาว อย่าเพิ่งตกใจ อาจจะเพราะไม่ได้สตาร์ทมานานแล้ว ก็ให้เดินเบาซักแป็บนึง ลองเปิ้ลรอบดู ถ้าปรกติ เดี๋ยวมันจะค่อยๆจางไปหรือไม่มี แต่ถ้านานแล้ว เบิ้ลรอบยังมีควันออกมาตลอด ไม่น้อยลงก็อาจเป็นปัญหาที่เครื่องยนต์ แล้วในกรณีที่ไม่สามารถติดเครื่องได้ อันนี้ลำบากในการดูมาก อย่างน้อยควรได้ฟังเสียงการทำงานของเครื่องยนต์จะดีที่สุด
- ให้ลองขี่ดูเลย ถ้าไม่ให้ลองขี่อย่าซื้อนะครับ แล้วการลองอย่างน้อยคนซื้อต้องสามารถที่จะรับผิดชอบดดยการซื้อเลยถ้าเอารถไป ล้ม ฉะนั้นก่อนลองรถต้องชั่งใจก่อน ว่าเรารับผิดชอบได้รึเปล่าว ควรลองรถแบบมีระยะทางมากหน่อย ลองใช้เกียร์หลายๆเกียร์ ทดลองงัดขึ้น-ลง ถ้าปรกติอาการเกียร์แข็งจะไม่มี ใช้ความเร็วมากขึ้นนิดหน่อย เครื่องถ้าร้อนแล้ว แม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานมานานแต่ถ้าปรกติควันจะน้อยลงมาก แล้วในกรณีที่สตาร์ทไปซักพักแล้ว เอามือไปอังที่ปลายท่อแล้วมีความชื้นหรือละอองน้ำกระเด็นออกมา แสดงว่าเครื่องมีความฟิตมาก จนควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ (ดีมาก)
- ทดลองเบรคหน้า-หลัง ไม่ต้องแรงมาก็ได้เดี๋ยวรถล้ม ให้ทดลองลองขี่วนๆ กลับรถ เดินหน้า-ถอยหลัง จะให้เจ้าของซ้อนไปด้วยก็ได้ หรือถ้าอยากเทสคนเดียวเพื่อความสบายใจของเจ้าของรถ ผู้ซื้อจะให้กระเป๋าสตางค์ , บัตรประชาชน , เอกสารอื่นของเราไว้ เพื่อความสบายใจของทั้ง2ฝ่าย เพราะเคยเกิดเหตุกรณี ลองรถแล้ว ขโมยไปเลยก็มี
- โซ่ สเตอร์ ยาง อย่างน้อยควรจะยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ถ้ายังดีอยู่ก็อาจไม่ต้องต่อรองมาก แต่ถ้าไม่อยุ่ในสภาพที่ดีแล้ว อาจจะขอต่อรองราคาลงหน่อย แล้วเราค่อยไปเปลี่ยนเอาเองก็ได้ แต่ต้องคำนวนราคาไว้แล้วจะได้รู้ยอดรวมคร่าวๆโดยประมาณ เรื่องสีสรรค์ภายนอกขอให้มองเป็นประเด็นรองครับ ให้ดูเครื่อง เฟรม ไว้เป็นหลักนะครับ

5. การตัดสินใจ ?
แนะว่า อย่าเพิ่งใจร้อน ให้ดูละเอียดๆ ดูหลายๆคัน หลายๆที่ เว้นแต่ว่า คันที่กำลังดูอยู่สภาพดีมาก พอใจแล้ว ก็ต่อรองราคาได้เลย เพราะถ้ายังไม่ตัดสินใจ หลังวันนี้อาจหลุดลอยไปก็ได้ เป็นไปได้ให้พาเพื่อนไปดูด้วยกัน จะได้ไม่ถูกชักจูงได้ง่ายๆ
ควรจะศึกษาหาข้อมูลรถที่สนใจไว้ก่อน เช่นเลขเครื่อง เลขเฟรม อุปกรณ์ต่างๆในรถ ปั้มเบรค ที่บอกอย่างนี้ ยกตัวอย่างHonda SF400 ผลิตออกมาหลายรุ่นมาก เครื่องมีแบบครีบเต็ม ครีบไม่เต็ม ปั้มNissin Brembo สารพัด ต้องรู้มากๆไว้ก่อน โอกาศที่จะถูกหลอกจะได้น้อยลง รถบ้าน...ในบางกรณี แม้ว่าจะซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าหน้าร้านมาก หลายบาท อาจเป็นหลักพัน หรือหลักหมื่น แต่ต้องคำนึงด้วยว่า สภาพที่เราต่อรองราคาได้ (ตามสภาพ ) หากเราตกลงซื้อมาแล้วเราต้อง เอามาปรับปรุงอะไรบ้าง ราคาอะไหล่แต่ละรายการราคาเท่าไหร่ ทดลองจดรายการดูว่าราคารวมๆแล้วเท่าไหร่ เพราะบางที เพลอๆราคารถ+ค่าบำรุงรักษาอาจจะแพงกว่ารถหน้าร้านก็ได้

6. การต่อรองราคา ?
แม้ว่าในกรณีซื้อ-ขายจะเป็นการตกลงราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ราคาควรจะพอเหมาะพอสม อันนี้อธิบายเป็นกลาง ผู้ขายก็อยากขายได้ราคาตามอย่างที่ตั้งใจไว้ อาจจะเท่าทุนหรือกำไรบ้างมาก-น้อย ส่วนผู้ซื้อก็อยากซื้อได้ราคาถูกตามงบประมาณ ถูกได้เท่าไหร่ ยิ่งมากยิ่งดี แต่ทั้งนี้ แนะว่าผู้ซื้อถ้าเห็นรถ สภาพ พอเหมาะสมกับงบประมาณแล้ว หากรับได้ก็ไม่น่าที่จะต่อรองกันจนมากเกินไป บางครั้งจนเหมือนกับการกดราคา ในวงการรถใหญ่นั้น แคบมาก ใครซื้อ ใครขายอะไร ไม่นานก็มีคนทราบหมด การซื้อขายบางครั้งก็ทำให้ได้เพื่อนใหม่ ไม่ใช่ซื้อกันแล้วไม่คบกันอีกเลย ฉะนั้น ควรที่จะมีคุณธรรมกันทั้งคนซื้อและขาย ให้เหมาะสมพอดี คนขายก็ไม่ควรจะ ย้อมแมว หรือขายเอากำไรมากๆเกินควร อย่างนี้วงการของเราๆจะได้เจริญขึ้น

บทความนี้ เขียนโดยใช้ประสพการณ์ของตัวเอง หากมีบกพร่องอะไรบ้าง ก็ขออภัยครับ ขอบคุณเป็นอย่างสูง

Credit: คุณpum118 จากweb:118bikes

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น